ลดต้นทุนการผลิตด้วย OEE Analytic

OEE คืออะไร ทำไมถึงต้องรู้จัก

        ถ้าการวัด KPI คือการประเมินประสิทธิภาพของพนักงานในบริษัท OEE (Overall Equipment Effectiveness) ก็เปรียบเสมือน

การวัดประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร

 

        Overall Equipment Effectiveness (OEE): ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร คือ วิธีการคำนวณความสามารถในการทำงาน

ทั้งหมดของเครื่องจักรภายในโรงงานเครื่องจักรที่ดีไม่ใช่เป็นเพียงแค่เครื่องจักรที่ไม่เสีย เปิดสวิตช์เมื่อใดทำงานได้เมื่อนั้น

หากแต่ต้องเป็นเครื่องจักรที่เปิดขึ้นมาแล้วทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

คือ เดินเครื่องได้เต็มกำลังความสามารถ แต่ถ้าเครื่องจักรใช้งานได้ตลอดเวลาและเดินเครื่องได้เต็มกำลัง แต่ชิ้นงานที่ผลิตออกมา

ไม่มีคุณภาพ ก็คงไม่มีประโยชน์อะไร ดังนั้นเรื่องคุณภาพของงานที่ออกมาจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะใช้ในการพิจารณาเครื่องจักร

 และที่สำคัญเครื่องจักรที่ดีต้องใช้งานได้อย่างปลอดภัย โดยอ้างอิงจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและสรุปออกมาเป็นตัวเลข

โดยการคำนวณ OEE จะมีส่วนประกอบหลัก 3 อย่าง คือ

 

        1. Availability อัตราการเดินเครื่องจักร หรือ สมรรถนะความพร้อมของเครื่องจักรโดยจะเทียบตามแผนในการผลิต

ของหน่วยการผลิตนั้นๆหากไม่สามารถผลิตได้ หรือ สูญเสียความสามารถในการผลิตจะเรียกว่า “availability losses”

หรือสามารถคำนวนได้จาก

Availability = Operating Time / Scheduled time

Availability = สมรรถนะความพร้อมของเครื่องจักร
Operating Time = เวลาในการเดินเครื่องจักรผลิตในโรงงาน
Scheduled Time = เวลาที่ถูกวางแผนในการเดินเครื่องจักรผลิตในโรงงาน

 

        2. Performance ประสิทธิภาพของเครื่องจักร หรือ ประสิทธิภาพในการผลิต อาจจะเรียกว่า อัตราการผลิต (Process rate)

เป็นตัวแปรที่มองว่า หน่วยผลิตสามารถผลิตได้เท่าไหร่เมื่อเทียบกับความเร็วในการผลิตที่ออกแบบไว้ในกรณีที่ผลิตได้ช้า

จากการออกแบบไว้ เราจะเรียกว่า “Speed losses” หรือสามารถคำนวนได้จาก

Performance = Actual speed / Design speed

Performance = ประสิทธิภาพในการผลิต
Actual speed = เวลาที่่ใช้จริงในการผลิต
Design speed = เวลาที่่ออกแบบในการผลิต

 

        3. Quality อัตราคุณภาพ หรือ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ เป็นการบ่งบอกว่าสินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพไหม โดยกำหนดจากระบบ

QA/QC ในโรงงาน โดยเป็นการบอกปริมาณสินค้าที่ได้คุณภาพมีเปอร์เซ็นเท่าไหร่จากปริมาณเท่าหมดส่วนปริมาณสินค้า

ที่เสียไปจะเรียกว่า “Quality losses”

Quality = (Units produced – defective units) / (Units produced)

Quality = คุณภาพของผลิิตภัณฑ์
Units produced = ปริมาณสินค้สที่ได้คุณภาพ
Defective units = ปริมาณสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ

 

Units produce = ปริมาณสินค้าทั้งหมด

 

OEE       =       อัตราเดินเครื่อง    x    ประสิทธิภาพเดินเครื่อง    x    อัตราคุณภาพ
                        (Availability)           (Performance Efficiency)         (Quality Rate)

 

        ซึ่งเมื่อนำปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบการผลิต อันได้แก่ พนักงาน, เครื่องจักร และชิ้นงานที่ผลิต มาวิเคราะห์แล้ว

จะทำให้ทราบได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับระบบการผลิตของเราบ้าง ซึ่ง OEE จะเป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นสภาพโดยรวมในระบบการผลิตนั่น

เองและส่วนประกอบ 3 อย่างนี้ก็จะมีปัจจัยแยกย่อยลงไป เพื่อให้การคำนวณนั้นตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นภายในโรงงานมาก

ที่สุด

 

        เกณฑ์มาตรฐานของ OEE
ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ (Overall Equipment Effectiveness : OEE) ที่ตั้งเป็นมาตรฐาน (World Class)

อัตราการเดินเครื่อง(Availability)     = 90%     

ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง(Performance Efficiency)=  95%     

อัตราคุณภาพ(Quality Rate)=  99%ดังนั้น  

ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ (Overall Equipment Effectiveness : OEE)   = 0.90 x 0.95x 0.99 x 100      = 85%

 

        **ค่าดังกล่าวมิใช่ค่าเป้าหมายที่บังคับใช้ (สามารถกำหนดค่าเป้าหมายได้ความเหมาะสมของแต่ละโรงงาน)

 

        ประโยชน์ของ OEE คือเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงเครื่องจักรหรือกระบวนการผลิต

เป็นการติดตามสภาพการทำงานของเครื่องจักรใน แต่ละวันอย่างยุติธรรมเที่ยงตรง เพื่อลดของเสียและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้ดียิ่งขึ้นรวมถึงทำให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างถุกจุด

Visitors: 54,702